วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ข้อสอบปลายภาค
วิชาการจักประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.ในการจัดประสบการณืทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยท่านต้องการศึกษาในเรื่องใดบ้าง
-ครูกับเด็กต้องมีการวางเเผนกัน คิดร่วมกัน ทำด้วยกัน ซึ่งต้องเป็นบรรยายกาศที่มีลักษณะที่ร่วมมือกัน การวางเเผนนั้นก็จะมีการวางเเผนระยะยาว พื่อที่จะวางกรอบความคิดกว้างๆ เเละการวางเเผนระยะสั้นโดยที่ครูเเละเด็กใช้ความคิดพูดคุยปรึกษากันเพื่อหารายละเอียดเเละขั้นตอนในการทำกิจกรรม
2.การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีวัตถุประสงค์อะไร
1.เพื่อศึกษาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา โดยใช้กิจกรรมการเล่านนิทาน
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในด้านการฟัง พูด อ่าน เเละเขียน ก่อนเเละหลังการจ้ดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทาน
3.เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในด้าน การฟัง พูด อ่าน เเละเขียน หลังการจัดประสบการณ์ทางภาษา เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา โดยใชกิจกรรมการเล่านิทาน ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ร้อยละ 75
3.หลักการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีอะไรบ้าง
-ภาษาประกอบด้วยทักษะ 4ด้านคือ การฟังการพูด การอ่าน การเขียน
4.ท่านมีเเนวทางในการให้ความรู้ผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาได้อย่างไร
1.ให้ผู้ครองเล่านิทานให้เด็กฟังทุกๆวัน เเละเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพื่อได้สังเกตทักษะหารฟังของเด็ก
2. ในเเต่ละวันผู้ปกครองควรฝึกภาษาที่สองกับเด็ก โดยใช้สื่อที่เป็นบัตรคำ
3.ผู้ปกครองควรร่วมกิจกรรมกับเด็กบ่อยๆ เพื่อได้สร้างความสัมพันธ์กันมากขึ้น
4.ร่วมกันร้องเพลงกับเด็ก เพื่อฝึกทักษะการพูด การฟัง การอ่าน เเต่เพลงนั้นต้องเป็นเพลงสั้นๆได้ใจความ
5.ให้ท่านเลือกกิจกกรมส่งเสริม พัฒนาการทางภาษาที่ท่านชอบที่สุดพร้อมให้เหตุผล ชื่อ วัตถุประสงค์ กิจกรรม ประเมินผล
ชื่อกิจกรรม คือ เอะ เอะ เสียงอะไรหว่า
วัตถุประสงค์
1.เพื่อต้องการให้เด็กเข้าใจภาษาที่มีหลายรูปแบบ
2.เพื่อต้องการให้เด็กได้ทักษะการฟังจากเยงที่ได้ยิน
3.เพื่อต้องการให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมกับผู้อื่น
กิจกรรม
นำเสียงต่างๆมาให้เด็กฟัง เเล้วทายว่าเสียงนั้นคืออะไร เเล้วให้เด็กได้จินตนาการ
ประเมินผล
จากการได้ทำกิจกรรมเด็กให้ความร่วมมือกันดี

ของเล่นส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา

ของเล่นส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา
ของเล่นหรือการเล่นมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กอย่างมาก ถือว่าเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ของเด็กในอนาคต ดังนั้นถ้าพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูได้เข้าใจและสามารถนำของเล่นหรือกิจกรรมการเล่นไปใช้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ทักษะพัฒนาการและการเรียนรู้เด็กจะก้าวไปอย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อเด็กมีพื้นฐานทางพัฒนาการที่ดีและเหมาะสมกับวัย เด็กจะสามารถนำประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ในอนาคตได้อย่างมีคุณภาพ ความหมายของการเล่นการเล่นเป็นกิจกรรมการเรียนรู้และเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดการรับรู้ที่ดี ตลอดทั้งให้เด็กได้เรียนรู้ตัวเองและบุคคลอื่นโดยไม่รู้ตัว และนอกจากนี้การเล่นยังมีผลต่อพัฒนาการทางสมอง และระบบประสาทอีกด้วยประโยชน์ของการเล่น1. ช่วยเสริมสร้างให้เด็กมีพัฒนาการในทุกด้าน2. ช่วยเสริมสร้างการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 53. ช่วยพัฒนาด้านสติปัญญา เสริมสร้างจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์4. ช่วยพัฒนาความสามารถในด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะคำศัพท์5. ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเอง6. ช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีทางสังคม เช่น การแบ่งปัน (sharing) การผลัดเปลี่ยน (turn taking) การช่วยเหลือ (co-operation) การอดทนต่อการรอคอยความยืดหยุ่น (flexibility)7. ช่วยเสริมสร้างให้เด็กรู้จักตนเองได้ดีขึ้นซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จที่ได้กระทำ8. ช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิตและอารมณ์ที่ดี9. ช่วยพัฒนาและส่งเสริมบทบาททางเพศ และบทบาทสมมติ10. ช่วยพัฒนาและเสริมสร้างความสนใจและสมาธิพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กวัย ๑-๓ ปีเด็กในวัยนี้ สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ หลากหลาย เป็นวัยแห่งการเรียนรู้ การค้นหา รวมทั้งมีศักยภาพทางพัฒนาการในทุกด้านที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์ขึ้น กล่าวคือ ทักษะด้านการเคลื่อนไหว เด็กสามารถเดินได้คล่อง เดินขึ้น-ลงบันไดได้เอง กระโดด ปีนป่ายได้ ทักษะการใช้นิ้วมือ ความคล่องตัว และแม่นยำในการทำงานมากขึ้น ทักษะทางด้านภาษา สามารถโต้ตอบด้วยคำพูดเป็นประโยคสั้น ๆ บอกความต้องการของตัวเอง ตลอดทั้งปฏิบัติตามคำสั่งต่าง ๆ ได้ดี รวมทั้งช่วยเหลือตัวเองในการรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ ถอด-ใส่เสื้อผ้า ควบคุมการขับถ่ายได้ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูควรตระหนักคือ เรื่องความปลอดภัยของอุปกรณ์การเล่น และกิจกรรมการเล่น ไม่ว่าเด็กจะเล่นคนเดียวหรือเล่นกับผู้อื่นก็ตาม เนื่องจากเด็กวัยนี้ไม่เข้าใจถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่น มีความคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างตนเองสามารถทำได้หมด และสามารถควบคุมจัดการในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 9


เรื่อง ข้าว
กิจกรรมทางภาษาเล่านิทาน เรื่อง เเม่โพสพ
นามมาเเล้วมีครอบครัวยากจนครอบครัวหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยเเม่เเละลูกหลายคน ลูกต้องอดอยากเสมอด้วยความสงสารลูก เเม่จึงตั้งจิตอธิษฐานว่าหากตนจะต้องตายก็ไม่ว่า ขอเพียงได้ช่วยให้ลูกได้กินอย่างอิ่มหมีพีมัน ต่อมาเมื่อเเม่ตายลงได้เกิดเป็นต้นข้าว ช่วยให้ลูกมีอาหารเพียงพอที่จะรับประทาน
ต่อมานามเข้าลูกเริ่มลืมความหิวโหย ก็เริ่มกินทิ้งกินขว้างไม่ประหยัดทำให้เเม่โพสพเสียใจมาก ในเวลาดึกสงัด หากไปตามยุ้งตามฉาง จะได้ยินเสียงเเม่โพสพสะอื้นให้เด็กๆ ก็เช่นเดียวกัน หากรับประทานข้าวไม่หมด ปล่อยให้ตกหล่นทิ้งขว้าง เเม่โพสพก็จะร้องไห้เช่นเดียวกัน
เพลง ฉันคือข้าว
ฉันคือข้าวที่เด็กกินทุกวัน ช่วยกายาเติบโตใหญ่ให้เเข็งเเรง
ข้าวใส่โม่บดให้เสร็จเมล็ดที่เเข็ง กลายเป็นเเป้งทำขนมอร่อยเอย
เพลง ข้าวทุกจาน
ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง
อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า
ผู้คนอดอยาก มีมากหนักหนา
สงสารบรรดา เด็กตาดำดำ
คำคล้องจอง รีรีข้าวสาร
รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก เลือกท้องใบลาน
คดข้าวใส่จาน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน
พานคนข้างหลังไว้
คำคล้องจอง ข้าวเอยข้าวสุก
ข้าวเอยข้าวสุก ต้องกินทุกบ้านทุกฐานถิ่น
กว่าจะได้ข้าวให้เรากิน ชาวนาสิ้นกำลังเกือบทั้งสิ้น
ต้องทนเเดดทนฝนทนลมหนาว จึงได้ข้าวจากนามาถึงนี่
คนกินข้าวควรนึกไว้ให้จงดี ชาวนามีคุณค่าเเก่เราไม่เบาเลย

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 8

วันนี้อาจารย์ทบทวนและพูดคุยกับนักศึกษา เกี่ยวกับงานกลุ่มที่สั่งให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม4คน 6กลุ่ม จัดกิจกรรมทางภาษาที่โรงเรียนอนุบาลสาธิตจันทรเกษม อาจารย์บอกรายละเอียดและยกตัวอย่างกิจกรรมของแต่ละกลุ่มให้นักศึกษาฟัง และฝึกให้นักศึกษาคิดตาม พร้อมทำความเข้าใจ-พร้อมทั้งให้นักศึกษาทำตารางการจัดกิจกรรมทางภาษาส่งมาให้อาจาย์ดูทุกกลุ่ม-รวมทั้งอาจารย์ตรวจงานปริศนาคำทายให้กับนักศึกษา และยกตัวอย่างการพิมพ์คำและแยกคำเพื่อใช้ในการอ่านให้เด็กอ่านง่ายและให้เด็กได้จำคำต่างๆได้

บันทึกครั้งที่ 7


กลุ่มข้าพเจ้าได้ไปเล่านิทานตอนเช้าที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

วันที่ 18 มกราคม 2553 เวลา 08.00-08.30น.

กลุ่มข้าพเจ้าเล่านิทานเกี่ยวกับเล่าเรื่องประกอบภาพ

ข้าพเจ้าเล่าเรื่อง เเตงโมปวดฟัน
น้องๆทุกคนตั้งใจฟังเราเล่านิทาน เด็กบางคนก็จะให้เล่านนิทานที่น้องเตรียมมาให้เล่า เล่าให้ฟัง

บันทึกครั้งที่ 6

อาจารย์สั่งงาน:ให้แบ่งกลุ่มเป็น 7กลุ่มเเล้วให้ไปเล่านิทานที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมในตอนเช้า
ได้เเก่
ระดับชั้น อ.1/1
อ.1/2
อ.2
อ.3
กลุ่มข้าพเจ้าได้กลุ่มที่ 1 เล่านิทานประกอบภาพ

บันทึกครั้งที่ 5

วันนี้นำเสนองานต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว

กลุ่มที่4 การสอนภาษาแบบองค์รวม
การสอนภาษาแบบองค์รวม เป็นปรัชญาแนวคิดความเชื่อที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ เป็นการสอนที่เน้นพัฒนาการทุกๆด้าน ทั้งการ ฟัง พูด อ่าน เขียน สิ่งสำคัญในการสอนภาษาแบบองค์รวมคือต้องพัฒนาให้เข้ากับผู้เรียนเป็นสำคัญ

กลุ่มที่5 การจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก ควรคำนึงถึงเด็กเป็นสำคัญ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้าน การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กในการจัดควรจัดให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กแสดงออกผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ จัดให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ทางภาษา

หลักการจัดประสบการณ์ เป็นวิธีที่เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ให้เด็กลงมือกระทำ ทางด้านจิตวิทยาเป็นการทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลง คือการได้ทดลองปฏิบัติ ต้องเป็นการปฏิบัติที่เป็นไปตามธรรมชาติ คือ มีอิสระ สนุกสนาน ไม่มีกรอบ เป้นการจัดบนพื้นฐานความสนุกสนาน ไม่มีขอบเขตบังคับ

บรรรยากาศในการเรียน
การนำเสนองานวันนี้มีข้อผิดพลาด คือ ปัญหาของคำควบกล้ำ ในการนำเสนอ ต้องพยายามฝึก น้ำเสียง คำพูด ภาษา อากาศในห้องเย็นสบาย

บันทึกครั้งที่ 4

อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองาน

กลุ่ม1 ความหมายของภาษา
ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร มี2 ประเภท คือ วัจนภาษา และอวัจนภาษา
วัจนภาษา คือ ภาษาที่เป็นถ้อยคำ การพูด ส่วนอวัจนภาษาเป็นภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำ นอกเหนือการใช้คำพูด ในการจัดประสบการณ์ทางภาษา เป็นเครื่องมือของการคิด การแสดงออกถึงความต้องการให้สื่อถึงความเข้าใจกัน

กลุ่ม2 ทฤษฏีทางสติปัญญา
เพียเจต์ กล่าวว่า การเรียนรู้ของเด็กเรียนรู้ผ่านระบบประสาท การขยายโครงสร้าง การปรับเข้าสู้โครงสร้าง
บรูเนอร์ แบ่งการเรียนรู้เป็น 3 ขั้น คือ ขั้นการเรียนรู้การกระทำ
ขั้นการเรียนรู้ด้วยภาพและจินตนาการ
ขั้นการเรียนรู้ด้วยสัญลักษณ์
การเรียนรู้จะเกิดก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม


กลุ่ม3 จิตวิทยาการเรียนรู้
การเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย สำหรับมนุษย์การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์โลกอื่น ๆ
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน ๓ ด้าน ดังนี้
๑. ด้านพุทธิพิสัย ๒. ด้านเจตพิสัย ๓. ด้านทักษะพิสัย
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
๑. แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล
๒. สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ
๓. การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมา
๔. การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคล


กลุ่ม4 การสอนภาษาแบบองค์รวม
เป็นการสอนภาษาที่เป็นไปตามธรรมชาติ ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ภาษาของตนเองอย่างอิสระ เน้นการการนำรวมวรรณกรรมต่างๆที่ดีมาเป็นสื่อการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ที่หลาหหลาย หลักการสอนให้เด็กเห็นภาพจริงและของจริง

บันทึกครั้งที่ 3

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน2552

วันที่27 พ.ย.52 อาจารย์ ไปสัมนาการพัฒนาหลักสูตร ที่ จ.กาญจนบุรี ให้นักศึกษาค้นคว้าและนำเสนอกิจกรรมและสื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยโดยเขียนลงในบล็อก

เทคนิคการสอนภาษา
การสอนภาษาสำหรับเด็กต้องรวมถึงทักษะการฟัง การพูดด้วย ไม่ใช่เพียงแต่ทักษะการอ่านการเขียนเท่านั้น เพราะการฟังการพูดเป็นพื้นฐานของการอ่านและการเขียนครูสามารถประเมินผลการสอนของตนเองจากเด็กได้ง่ายๆ โดยสังเกตว่าเราสอนเด็กรู้สึกอย่างไร


แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา
ครูต้องทราบว่าเด็กของเราเรียนรู้อย่างไรและเด็กเรียนรู้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติอย่างไร ประสบการณ์ทางด้านภาษาของเด็กเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เชื่อว่าเด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด ถ้าเราสอนแบบWhole Language คือ สอนอย่างเป็นธรรมชาติ เนื้อหาอยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเขาเป็นส่วนหนึ่งในสังคมของห้องเรียน ไม่ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกแข่งขัน ครูต้องสอนทุกทักษะไปพร้อมๆกันและเกี่ยวข้อกัน ทำให้การเรียนภาษาของเด็กเป็นสิ่งที่น่าสนใจและสนุกสนาน


ควรสอนภาษาเด็กอย่างไร
ควรเริ่มจากสิ่งที่เด็กรู้แล้วและอยู่ในความสนใจของเด็ก ให้ความเคารพกับภาษาที่เด็กใช้ มีการประเมินโดยการสังเกต ใช้วิธีการประเมินที่เหมาะสม มีการเสนอความคิดต่อผู้ปกครอง ส่งเสริมให้เด็กเรียนอย่างกระตือรือร้น จดประสบการณ์การอ่านและส่งเสริมให้เด็กลงมือกระทำ

ขั้นตอนการอ่านและการเขียน
ข้อควรปฏิบัติในการสอนภาษา

1.ควรสอนในสภาพที่เป็นธรรมชาติที่สุด ไม่ใช่การจับเด็กมานั่งเรียนอย่างเดียว
2.ควรสอนโดยไม่มีการแบ่งแยกกลุ่มเด็กเก่งเด็กอ่อน
3.การที่เด็กเกิดมาพร้อมกับความสนใจอยากรู้แล้ว จะเป็นแรงกระตุ้นให้เขาสามารถจำคำต่างๆได้ โดยครูอาจใช้ความคิดเกี่ยวข้องกับภาษาของเด็กมาสอน ขณะที่เด็กกำลังสนใจที่จะเยนชื่อตัวเอง ก็จะสอนให้เด็กทราบว่าชื่อตัวเองสะกดอย่างไรหรืออาจจะทำเป็นธนาคารคำศัพท์(WORD BANK) ประจำห้องเรียน ที่เด็กๆสามารถมาเปิดดูหรือค้นคว้าได้