วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ข้อสอบปลายภาค
วิชาการจักประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.ในการจัดประสบการณืทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยท่านต้องการศึกษาในเรื่องใดบ้าง
-ครูกับเด็กต้องมีการวางเเผนกัน คิดร่วมกัน ทำด้วยกัน ซึ่งต้องเป็นบรรยายกาศที่มีลักษณะที่ร่วมมือกัน การวางเเผนนั้นก็จะมีการวางเเผนระยะยาว พื่อที่จะวางกรอบความคิดกว้างๆ เเละการวางเเผนระยะสั้นโดยที่ครูเเละเด็กใช้ความคิดพูดคุยปรึกษากันเพื่อหารายละเอียดเเละขั้นตอนในการทำกิจกรรม
2.การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีวัตถุประสงค์อะไร
1.เพื่อศึกษาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา โดยใช้กิจกรรมการเล่านนิทาน
2.เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในด้านการฟัง พูด อ่าน เเละเขียน ก่อนเเละหลังการจ้ดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทาน
3.เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยในด้าน การฟัง พูด อ่าน เเละเขียน หลังการจัดประสบการณ์ทางภาษา เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา โดยใชกิจกรรมการเล่านิทาน ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ร้อยละ 75
3.หลักการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยมีอะไรบ้าง
-ภาษาประกอบด้วยทักษะ 4ด้านคือ การฟังการพูด การอ่าน การเขียน
4.ท่านมีเเนวทางในการให้ความรู้ผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาได้อย่างไร
1.ให้ผู้ครองเล่านิทานให้เด็กฟังทุกๆวัน เเละเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพื่อได้สังเกตทักษะหารฟังของเด็ก
2. ในเเต่ละวันผู้ปกครองควรฝึกภาษาที่สองกับเด็ก โดยใช้สื่อที่เป็นบัตรคำ
3.ผู้ปกครองควรร่วมกิจกรรมกับเด็กบ่อยๆ เพื่อได้สร้างความสัมพันธ์กันมากขึ้น
4.ร่วมกันร้องเพลงกับเด็ก เพื่อฝึกทักษะการพูด การฟัง การอ่าน เเต่เพลงนั้นต้องเป็นเพลงสั้นๆได้ใจความ
5.ให้ท่านเลือกกิจกกรมส่งเสริม พัฒนาการทางภาษาที่ท่านชอบที่สุดพร้อมให้เหตุผล ชื่อ วัตถุประสงค์ กิจกรรม ประเมินผล
ชื่อกิจกรรม คือ เอะ เอะ เสียงอะไรหว่า
วัตถุประสงค์
1.เพื่อต้องการให้เด็กเข้าใจภาษาที่มีหลายรูปแบบ
2.เพื่อต้องการให้เด็กได้ทักษะการฟังจากเยงที่ได้ยิน
3.เพื่อต้องการให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมกับผู้อื่น
กิจกรรม
นำเสียงต่างๆมาให้เด็กฟัง เเล้วทายว่าเสียงนั้นคืออะไร เเล้วให้เด็กได้จินตนาการ
ประเมินผล
จากการได้ทำกิจกรรมเด็กให้ความร่วมมือกันดี

ของเล่นส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา

ของเล่นส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา
ของเล่นหรือการเล่นมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กอย่างมาก ถือว่าเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ของเด็กในอนาคต ดังนั้นถ้าพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูได้เข้าใจและสามารถนำของเล่นหรือกิจกรรมการเล่นไปใช้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ทักษะพัฒนาการและการเรียนรู้เด็กจะก้าวไปอย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อเด็กมีพื้นฐานทางพัฒนาการที่ดีและเหมาะสมกับวัย เด็กจะสามารถนำประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาไปประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ในอนาคตได้อย่างมีคุณภาพ ความหมายของการเล่นการเล่นเป็นกิจกรรมการเรียนรู้และเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดการรับรู้ที่ดี ตลอดทั้งให้เด็กได้เรียนรู้ตัวเองและบุคคลอื่นโดยไม่รู้ตัว และนอกจากนี้การเล่นยังมีผลต่อพัฒนาการทางสมอง และระบบประสาทอีกด้วยประโยชน์ของการเล่น1. ช่วยเสริมสร้างให้เด็กมีพัฒนาการในทุกด้าน2. ช่วยเสริมสร้างการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 53. ช่วยพัฒนาด้านสติปัญญา เสริมสร้างจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์4. ช่วยพัฒนาความสามารถในด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะคำศัพท์5. ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเอง6. ช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีทางสังคม เช่น การแบ่งปัน (sharing) การผลัดเปลี่ยน (turn taking) การช่วยเหลือ (co-operation) การอดทนต่อการรอคอยความยืดหยุ่น (flexibility)7. ช่วยเสริมสร้างให้เด็กรู้จักตนเองได้ดีขึ้นซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จที่ได้กระทำ8. ช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิตและอารมณ์ที่ดี9. ช่วยพัฒนาและส่งเสริมบทบาททางเพศ และบทบาทสมมติ10. ช่วยพัฒนาและเสริมสร้างความสนใจและสมาธิพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กวัย ๑-๓ ปีเด็กในวัยนี้ สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ หลากหลาย เป็นวัยแห่งการเรียนรู้ การค้นหา รวมทั้งมีศักยภาพทางพัฒนาการในทุกด้านที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์ขึ้น กล่าวคือ ทักษะด้านการเคลื่อนไหว เด็กสามารถเดินได้คล่อง เดินขึ้น-ลงบันไดได้เอง กระโดด ปีนป่ายได้ ทักษะการใช้นิ้วมือ ความคล่องตัว และแม่นยำในการทำงานมากขึ้น ทักษะทางด้านภาษา สามารถโต้ตอบด้วยคำพูดเป็นประโยคสั้น ๆ บอกความต้องการของตัวเอง ตลอดทั้งปฏิบัติตามคำสั่งต่าง ๆ ได้ดี รวมทั้งช่วยเหลือตัวเองในการรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ ถอด-ใส่เสื้อผ้า ควบคุมการขับถ่ายได้ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูควรตระหนักคือ เรื่องความปลอดภัยของอุปกรณ์การเล่น และกิจกรรมการเล่น ไม่ว่าเด็กจะเล่นคนเดียวหรือเล่นกับผู้อื่นก็ตาม เนื่องจากเด็กวัยนี้ไม่เข้าใจถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่น มีความคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างตนเองสามารถทำได้หมด และสามารถควบคุมจัดการในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง