วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บันทึกครั้งที่ 4

อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองาน

กลุ่ม1 ความหมายของภาษา
ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร มี2 ประเภท คือ วัจนภาษา และอวัจนภาษา
วัจนภาษา คือ ภาษาที่เป็นถ้อยคำ การพูด ส่วนอวัจนภาษาเป็นภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำ นอกเหนือการใช้คำพูด ในการจัดประสบการณ์ทางภาษา เป็นเครื่องมือของการคิด การแสดงออกถึงความต้องการให้สื่อถึงความเข้าใจกัน

กลุ่ม2 ทฤษฏีทางสติปัญญา
เพียเจต์ กล่าวว่า การเรียนรู้ของเด็กเรียนรู้ผ่านระบบประสาท การขยายโครงสร้าง การปรับเข้าสู้โครงสร้าง
บรูเนอร์ แบ่งการเรียนรู้เป็น 3 ขั้น คือ ขั้นการเรียนรู้การกระทำ
ขั้นการเรียนรู้ด้วยภาพและจินตนาการ
ขั้นการเรียนรู้ด้วยสัญลักษณ์
การเรียนรู้จะเกิดก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม


กลุ่ม3 จิตวิทยาการเรียนรู้
การเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญและจำเป็นในการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย สำหรับมนุษย์การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์โลกอื่น ๆ
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน ๓ ด้าน ดังนี้
๑. ด้านพุทธิพิสัย ๒. ด้านเจตพิสัย ๓. ด้านทักษะพิสัย
องค์ประกอบสำคัญของการเรียนรู้
๑. แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล
๒. สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ
๓. การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แสดงออกมา
๔. การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคล


กลุ่ม4 การสอนภาษาแบบองค์รวม
เป็นการสอนภาษาที่เป็นไปตามธรรมชาติ ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ภาษาของตนเองอย่างอิสระ เน้นการการนำรวมวรรณกรรมต่างๆที่ดีมาเป็นสื่อการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ที่หลาหหลาย หลักการสอนให้เด็กเห็นภาพจริงและของจริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น